วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

มหรสพและการแสดง ในงานแข่งเรือ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์


โปรแกรมถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยาว ประจำปี 2555 ทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS

สนามที่ 1          9  กันยายน          สนามมิตรภาพไทย-ลาว จ.บึงกาฬ
สนามที่ 2          16 กันยายน         สนามท่าน้ำนนท์ จ.นนทบุรี
สนามที่ 3          23 กันยายน         สนามเทศบาลตำบลบางทรายใหญ่ จ.มุกดาหาร
สนามที่ 4          30 กันยายน         สนามวัดโบสถ์ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
สนามที่ 5          14 ตุลาคม           สนาม “แชมป์ชนแชมป์” อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
สนามที่ 6          21 ตุลาคม           สนามเทศบาลเมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
สนามที่ 7          28 ตุลาคม           สนามวัดสวนหงส์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สนามที่ 8          4 พฤศจิกายน       สนาม “ขึ้นโขนชิงธง” อ.หลังสวน จ.ชุมพร
สนามที่ 9          11 พฤศจิกายน     สนาม “เทศกาลเที่ยวพิมาย” อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
สนามที่ 10        18 พฤศจิกายน     สนามอ่างเก็บน้ำมาบประชัน เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
สนามที่ 11        25 พฤศจิกายน     สนามวัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น) อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
สนามที่ 12        2 ธันวาคม            สนามเทศบาลนครนนทบุรี จ.นนทบุรี (แข่งเรือยาวโบราณเฉลิมพระเกียรติเป็นกรณีพิเศษ)
สนามที่ 13        9 ธันวาคม            สนามโครงการพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
สนามที่ 14        16 ธันวาคม          สนามเทศบาลเมืองโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สนามที่ 15        23 ธันวาคม          สนามเทศบาลนครนครราชสีมา จ.นครราชสีมา

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่างทำเรือ ลุงผมเอง

ลุงพร หรือ ช่างพร  พุทธา ช่างทำสาวเรือ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์


เห็นเป็นช่างทำเรือแบบนี้ งานอดิเรกชอบสะสมพระเครื่องนะคราฟ
                                 มาดูภาพลุงทำงานกันครับ







กว่าจะเป็นเรือยาวได้ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ








ยุคของเรือยาว


1.ยุคอดีต แต่ละคุ้มบ้าน คุ้มวัด ในทุกลุ่มน้ำสยามประเทศนิยมหาไม้ตะเคียนนำมาขุดเป็นเรือยาวร่วมการแข่งขันอันแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ เพื่อสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่คุ้มบ้าน คุ้มวัดของตนเอง ช่างขุดเรือที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไปว่าเป็นบรมครูแห่งภูมิปัญญาช่างไทยในการขุดเรือยาว อาทิตย์ 1.ช่างเสริม เชตวัน บ้านเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์ 2.ช่างมา นคร บ้านเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์ 3.ช่างเลิศ โพธิ์นามาศ บ้านหัวดง จ.พิจิตร 4.ช่างวัน มีทิม บ้านแหลมทราย อ.หลังสวน จ.ชุมพร
2.ยุคทำสาว เป็นคำฮิตในยุทธจักรเรือยาวทั่วประเทศ เนื่องจากรัฐมีนโยบายปิดป่าเพื่อคืนความสมดุลย์สู่ธรรมชาติ จึงเริ่มนำเรือเก่าเรือแก่มาซ่อมแซมปรับปรุง ตกแต่ง แก้ไขกันใหม่ เรียกว่าทำสาวใหม่ให้มีรูปร่างที่ทันสมัยขึ้น และประสบชัยชนะจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ซึ่งช่างทำสาวเรืออันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ได้แก่ พระอธิการสมศักดิ์ สุวณโณ วัดสุวรรณราชหงส์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง, ช่างสงวน สูญนภา บ้านเฉลิมอาสน์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี หรือช่างเกียรติศักดิ์ อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นต้น ในด้านทีมเรือก็มีมิติใหม่เกิดขึ้น คือ หน่วยราชการที่มีกำลังพลที่ 4 เหล่าทัพส่งกำลังพลมาเล่นเรือเพื่อร่วมรักษาประเพณีชาวบ้าน รวมทั้งเป็นการปฏิบัติการจิตวิทยามวลชนประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของหน่วยงาน
3.ยุคเรือลาว นำมาทำสาวไทยภายหลังการแข่งขันเรือยาวเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลแห่งโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเห็นความสำคัญของกีฬาชาวบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำสยามประเทศ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดสดในสนามต่าง ๆ จึงมีภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐตระหนักถึงความสำคัญส่งทีมเรือเข้าร่วมการชิงชัย และธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามแห่งสายน้ำนี้ไว้ จึงมีการแสวงหาเรือโบราณจากประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) เข้ามาทำการตกแต่งแก้ไขทำสาวใหม่ด้วยฝีมือของชาวไทยเพราะราคาถูกกว่าเรือไทยเป็นยิ่งนัก
4.ก้าวสู่นานาชาติ และกีฬาแห่งชาติ ปัจจุบันเรือยาวประเพณีเป็นกีฬาทางน้ำบนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายจนก้าวสู่การแข่งขันเรือนานาชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และฝีพายแห่งสยามประเทศก็ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในการแข่งขันในน่านน้ำสากลทั่วโลก ประการสำคัญวงการเรือยาวประเพณีได้รับการยอมรับจากวงการกีฬาระดับชาติบรรจุเข้าชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติโดยการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปให้ได้มาตรฐานกีฬาสากลทั่วไป
5.ยุคฝีพายมืออาชีพ พาณิชย์แทรกแซง สังคมไทยยุคปัจจุบันเงิน หรือวัตถุดิบ เจริญรุดหน้ากว่าจิตใจตลอดจนภาระกิจในการยังชีพในเศรษฐกิจยุคปัจจุบันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความสับสนต่อวิถีชีวิตอันดีงามเป็นยิ่งนัก แต่เดิมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจากวิถีชีวิตอันดีงามเพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันตลอดจนเพื่อนำมาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศแห่งคุ้มบ้านคุ้มวัดก่อให้เกิดฝีพายมืออาชีพรับจ้างพายเรือด้วยค่าตัวที่สูงส่ง และด้วยอำนาจของเงินตรา บางครั้งทำให้หลงลืมคำว่าประเพณี และวิถีชีวิตอันดีงามของบรรพชนไปอย่างน่าเสียดาย หรือเกิดการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดจากการจัดการแข่งขันเป็นสิ่งที่พึงสังวรระวังเป็นยิ่งนัก หรือเกิดการเบี่ยงเบนจากคุณงามความดีอันเป็นภูมิรู้ภูมิธรรมของบรรพชนอย่างแท้จริง 

ประวัติความเป็นมาของงานแข่งเรือ อ.ท่าตูม

   อำเภอท่าตูมเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำมูลมากกว่า ๑๐๐ ปี เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญในการคมนาคม ทางน้ำที่สำคัญที่สุด แห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ จึงทำให้มี ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา ชาวท่าตูมมีความผูกผันกับแม่น้ำมูล
มาโดยตลอดเป็นเวลาช้านาน โดยอาศัยแม่น้ำมูลเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภคเพื่อการเกษตร
การคมนาคม ดังนั้นในทุกปีชาวท่าตูมจะได้รำลึกถึง พระคุณของแม่น้ำมูล โดยร่วมกันฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยว ทุกหมู่บ้าน ริมแม่น้ำมูลได้ร่วมกันนำขบวนเรือยาวมาทอดกฐินร่วมกัน และนำเรือยาวมาร่วมแข่งขันกัน 
เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริงและความสามัคคีของชาวท่าตูม และได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันชาวท่าตูม   ได้จัดแข่งขันเรือยาวแระเพณีเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้คงสืบต่อไป โดยจัดแข่งขันประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ณ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำมูล และเปิดโอกาสให้เรือยาว และกองเชียร์จากอำเภอท่าตูม ต่างจังหวัดมาร่วมแข็งขัน ชิงชัยเป็นจำนวนมาก แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้ 
              ๑.ประเภทเรือยาว ๓๖ ฝีพายขึ้นไป
              ๒.ประเภทเรือยาว ๓๕ ฝีพายลงมา
              ๓.ประเภทกองเชียร์ การรำมู้ดมัด

แข่งเรือบ้านผม



        แข่งเรือปี 2554 สนุกมากคราฟ กลางคืนมีดนตรีด้วย